วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ลัทธิโอมชินริเกียว



เจ้าลัทธิ

ลัทธิโอมชินริเกียว

โอมชินริเคียวมีต้นกำเนิดมาจากโรงฝึกโยคะโอมโนะไค (สมาคมโอม) ที่ชิบูย่า ซึ่งอาซาฮาระ โชโค (ชื่อจริง - มัทสึโมโต้ จิซึโอะ) เจ้าลัทธิได้จดใบอนุญาติเป็นลัทธิอย่างถูกต้องตามกฏหมายที่ที่ทำการจังหวัดโตเกียวในวันที่ 25 สิงหาคม 1989
หลัง จากจดทะเบียนแล้ว โอมก็ย้ายฐานใหญ่ไปยังเมืองฟูจิมิยะ จังหวัดชิสึโอกะ มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศเช่น รัซเซีย หรือศรีลังกา เฉพาะสาวกในญี่ปุ่นนั้นมีอยู่ถึง 11,000 คนทีเดียว สาวกจะได้รับตำแหน่งและหน้าที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่ในกลุ่มแกนนำของลัทธิเป็นผู้มีการศึกษาสูงซึ่งจบมาจากมหาวิทยาลัย ชั้นดีของญี่ปุ่น

ชื่อของโอมตั้งมาจากตัวอักษรศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา ในอินเดีย (บารามอน เป็นต้น) และตัวอักษรแต่ละตัวของโอมคือ A U M ก็มีความหมายถึง"การสร้างสรรค์" "การคงอยู่" และ"การทำลาย"ของจักรวาลซึ่งรวมทั้งหมดแล้วหมายถึง "อนิตยา" (ความไม่เที่ยงแท้) อันเป็นรากฐานของคำสอนของโอม
ในช่วงนั้น ญี่ปุ่นกำลังเกิดกระแสนิยมเรื่องเหนือธรรมชาติ โอมได้รับแนะนำลงใน"มู"ซึ่งเป็นนิตยสารเรื่องมิสเทรี่ในฐานะ"สมาคมโยคะของ ญี่ปุ่น" ในเล่มมีการลงรูปการกระโดดทั้งๆนั่งขัดสมาธิซึ่งภายหลังถูกอ้างว่าเป็นต้น แบบของการลอยตัวกลางอากาศ

คำสอนของโอมมีการใช้ศัพท์ภาษาอินเดีย (โดยเฉพาะของศาสนาฮินดู) ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นต้นว่าเทพศิวะ (ถือเป็นพระเจ้าของโอม อ้างว่าชื่อเดียวกับพระศิวะในศาสนาฮินดูก็จริง แต่พระศิวะเป็นเพียงภาคหนึ่งของเทพศิวะ และอาซาฮาระซึ่งเป็นเจ้าลัทธิ ก็เป็นภาคหนึ่งของเทพศิวะเช่นกัน) มีการนำศาสนาอื่นๆเช่นพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู เต๋า โซโลแอสเตอร์มาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโดยอ้างว่าทุกศาสนาล้วนมีหนทางเดียว กัน ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของคำสอนคือการปลีกตัวจากโลกภายนอกและเอาชนะตัณหาทั้ง ปวง

ส่วนหนึ่งในคำสอนของโอม "วจิรยานา" มีการกล่าวถึง"กฏของสวรรค์ที่ไม่เป็นไปตามกฏของโลก"ซึ่งอ้างว่าการกระทำใด ที่ขัดต่อกฏของสังคม แต่ไม่เป็นตัณหาและถูกต้องโดยเหตุผลทางใจ ในบางกรณีจะสามารถยอมรับว่าถูกต้องได้
ตีความได้ว่า การฆ่าคนเป็นที่ยอมรับได้ถ้าคนที่ถูกฆ่าประกอบความชั่ว การชิงทรัพย์เป็นที่ยอมรับได้ถ้าเพื่อช่วยคนยากจนอื่นๆอีกมากมาย การโกหกเพื่อนำคนเข้าลัทธิเป็นเรื่องยอมรับได้เพราะเป็นการชี้ทางสว่าง ฯลฯ
ในอีกแง่หนึ่ง มีการวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่าคำสอนตรงจุดนี้เป็นการหาข้ออ้างให้กับการกระทำของเจ้าลัทธิและสาวกในเวลาถัดมา


เอกสารอ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=312098

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น