วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555



วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
เรื่อง ลัทธิต่างๆในโลก

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม ม.6.9 
                      1.นาย นพพล          แสงสว่าง          เลขที่ 10
                      2.นาย นันทิพัฒน์    จิระโพธิ์             เลขที่ 18
                      3.นางสาว ปิยพัทธ์  สุขวัฒนพันธ์     เลขที่ 28
                      4.นาย นราวิชญ์       คำแสน              เลขที่ 43
                      5.นางสาว อติรัตน์   กิตตินันทะศิลป์  เลขที่ 47

เสนอ  ครู เตือนใจ  ไชยศิลป์

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

วันที่ส่ง 31 มกราคม 2555

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ลัทธิวูดู



ลัทธิวูดู
วูดูเป็นคำแอฟริกาตะวันตกแปลว่า วิญญาณ คำเดิมคือ โวดัน (vodun)  ความ เชื่อพื้นฐานของศาสนานี้คือทุกสิ่งทุกอย่างในสากลโลกนี้เกี่ยวข้องกันหมด ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นเพราะโชคชะตา ทุกอย่างที่ทำต่อคนอื่นจะมีผลกระทบกระเทือนถึงตัวเองด้วยเพราะตัวเราก็คือ ตัวคนนั้นด้วย

ตุ๊กตาวูดู
ประวัติวูดู
วูดูมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของชนพื้นเมืองในแอฟริกา ไล่ไปตั้งแต่แกมเบียไปจนถึงแองโกลานั่นแหละครับ ชาวพื้นเมืองเหล่านี้จะศรัทธาในตัวเทพเจ้าประจำท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ทำให้หมอผีและคนทรงพลอยมีหน้ามีตา โดนนับถือไปกับเขาด้วย ในฐานะสื่อกลางระหว่างเทพเจ้าและคนพื้นเมือง ทีนี้เรื่องมันเริ่มยุ่งขึ้นเมื่อถึงยุคล่าอาณานิคม หัวหน้าเผ่าของชนพื้นเมืองจำนวนมากได้ขายลูกเผ่าหรือเชลยศึก ไปเป็นทาสของชาวตะวันตก ในจำนวนทาสเหล่านี้ก็มีพ่อมดหมอผีติดไปด้วย นัยว่าเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจแก่เหล่าทาสพลัดถิ่นครับ ทำให้ความเชื่อและพิธีกรรมของวูดูแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของโลก โดยเฉพาะโลกใหม่ของโคลัมบัส ซึ่งนำเข้าทาสมากเป็นพิเศษ

พ่อหมดหมอผีแห่งลัทธิวูดู ไม่ได้มีอำนาจแก่กล้าด้วยตัวเองเหมือนหนังกำลังภายในหรอกครับ พวกเขาจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภูตผีและวิญญาณต่างๆ จึงจะสามารถสำแดงฤทธิ์เดชได้เต็มที่ ในหมู่เกาะอินดิสตะวันตกเองนั้น พลังของภูตผีในชุมชนของพวกทาสได้ก่อให้เกิด "เจ้า" อีกประเภทหนึ่งขึ้นมาใหม่ เรียกว่าโล(Loa)ครับ โลนี้สามารถคุ้มครอง ช่วยเหลือ ลงโทษ ตลอดไปจนกลั่นแกล้งมนุษย์ได้เช่นเดียวกับภูตผีปีศาจทั่วไป หมอผีทั้งหลายเรียกไสยศาสตร์แขนงใหม่นี้ว่า "วูดู" ครับ ชาววูดูทั้งหลายจะบูชาโลเป็นสรณะ ไม่มีใครรู้เหมือนกันว่า แท้ที่จริงแล้ว โลแต่ละตนมีที่มาที่ไปอย่างไร มีแต่พ่อมดหมอผีระดับสูงเท่านั้นที่รู้ และจะบอกกล่าวเฉพาะในหมู่พวกตน

หมอผีในลัทธิวูดูเรียกว่า โซบ๊อป(Zobop) พวกนี้เป็นได้ทั้งชายทั้งหญิง ซึ่งโซบ๊อปแต่ละคนต้องผ่านการฝึกฝนวิชามาอย่างแก่กล้าเสียก่อน จึงจะสามารถออกมาทำพิธีกรรมต่างๆได้ อำนาจของโซบ๊อปก็เหมือนแม่มดหมอผีในลัทธิมืดอื่นๆครับ คือสำแดงฤทธิ์ได้สารพัดประการ ปลุกคนตายขึ้นจากหลุมเอย เหาะเหินเดินอากาศเอย เครื่องรางของขลัง ยาแฝดคุณไสย พี่แกทำได้หมด เสกคาถาให้คนตายคาที่ก็ยังทำได้เลยครับ ตามตำรากล่าวเอาไว้ว่า โซบ๊อปที่เป็นชายจะมีพลังแก่กล้ากว่าโซบ๊อบหญิง ลักษณะพิเศษของโซบ๊อปชายก็คือ สามารถแปลงร่างเป็น ลูป-การู(Loup-Garou) หรือยุงผีเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ เจ้ายุงผีนี่แหละครับแสบนัก เพราะมันชอบบินไปดูดเอาชีวิตของเด็กทารกในขณะหลับ โซบ๊อบหญิงเองก็แปลงเป็นยุงผีได้เหมือนกัน แต่มักแปลงไปเองโดยไม่ตั้งใจและไม่สามารถควบคุมได้เหมือนอีกเพศหนึ่ง
พิธี ทางวูดูประกอบด้วยการสวดมนตร์ รำ กับการทำพิธีต่างๆ รวมทั้งฆ่าสัตว์เพื่อใช้บูชา งูมัความสำคัญในพิธีต่างๆ เชื่อกันว่าพระหรือชีอาวุโสจะมีความสามารถแบบงู

การรำกับการเล่นดนตรีมีส่วนสำคัญในพิธีทางวูดู การรำเป็นวิธีสื่อสารติดต่อกับวิญญาณกับโลกอื่น  วู ดูมีความสำคัญเกี่ยวกับการเป็นอยู่ในหมู่คนที่เขื่อ พระมีอิทธิพลมาก เป็นทื่ปรึกษาให้คำแนะนำเมื่อมคนขอ และยังรักษาโรคด้วยยากับสมุนไพร  ความรู้ของพระนั้นนั้นได้มาจากปู่ย่าตายาย


เอกสารอ้างอิง :http://www.vcharkarn.com/vcafe/105283

ลัทธิโอมชินริเกียว



เจ้าลัทธิ

ลัทธิโอมชินริเกียว

โอมชินริเคียวมีต้นกำเนิดมาจากโรงฝึกโยคะโอมโนะไค (สมาคมโอม) ที่ชิบูย่า ซึ่งอาซาฮาระ โชโค (ชื่อจริง - มัทสึโมโต้ จิซึโอะ) เจ้าลัทธิได้จดใบอนุญาติเป็นลัทธิอย่างถูกต้องตามกฏหมายที่ที่ทำการจังหวัดโตเกียวในวันที่ 25 สิงหาคม 1989
หลัง จากจดทะเบียนแล้ว โอมก็ย้ายฐานใหญ่ไปยังเมืองฟูจิมิยะ จังหวัดชิสึโอกะ มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศเช่น รัซเซีย หรือศรีลังกา เฉพาะสาวกในญี่ปุ่นนั้นมีอยู่ถึง 11,000 คนทีเดียว สาวกจะได้รับตำแหน่งและหน้าที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่ในกลุ่มแกนนำของลัทธิเป็นผู้มีการศึกษาสูงซึ่งจบมาจากมหาวิทยาลัย ชั้นดีของญี่ปุ่น

ชื่อของโอมตั้งมาจากตัวอักษรศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา ในอินเดีย (บารามอน เป็นต้น) และตัวอักษรแต่ละตัวของโอมคือ A U M ก็มีความหมายถึง"การสร้างสรรค์" "การคงอยู่" และ"การทำลาย"ของจักรวาลซึ่งรวมทั้งหมดแล้วหมายถึง "อนิตยา" (ความไม่เที่ยงแท้) อันเป็นรากฐานของคำสอนของโอม
ในช่วงนั้น ญี่ปุ่นกำลังเกิดกระแสนิยมเรื่องเหนือธรรมชาติ โอมได้รับแนะนำลงใน"มู"ซึ่งเป็นนิตยสารเรื่องมิสเทรี่ในฐานะ"สมาคมโยคะของ ญี่ปุ่น" ในเล่มมีการลงรูปการกระโดดทั้งๆนั่งขัดสมาธิซึ่งภายหลังถูกอ้างว่าเป็นต้น แบบของการลอยตัวกลางอากาศ

คำสอนของโอมมีการใช้ศัพท์ภาษาอินเดีย (โดยเฉพาะของศาสนาฮินดู) ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นต้นว่าเทพศิวะ (ถือเป็นพระเจ้าของโอม อ้างว่าชื่อเดียวกับพระศิวะในศาสนาฮินดูก็จริง แต่พระศิวะเป็นเพียงภาคหนึ่งของเทพศิวะ และอาซาฮาระซึ่งเป็นเจ้าลัทธิ ก็เป็นภาคหนึ่งของเทพศิวะเช่นกัน) มีการนำศาสนาอื่นๆเช่นพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู เต๋า โซโลแอสเตอร์มาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโดยอ้างว่าทุกศาสนาล้วนมีหนทางเดียว กัน ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของคำสอนคือการปลีกตัวจากโลกภายนอกและเอาชนะตัณหาทั้ง ปวง

ส่วนหนึ่งในคำสอนของโอม "วจิรยานา" มีการกล่าวถึง"กฏของสวรรค์ที่ไม่เป็นไปตามกฏของโลก"ซึ่งอ้างว่าการกระทำใด ที่ขัดต่อกฏของสังคม แต่ไม่เป็นตัณหาและถูกต้องโดยเหตุผลทางใจ ในบางกรณีจะสามารถยอมรับว่าถูกต้องได้
ตีความได้ว่า การฆ่าคนเป็นที่ยอมรับได้ถ้าคนที่ถูกฆ่าประกอบความชั่ว การชิงทรัพย์เป็นที่ยอมรับได้ถ้าเพื่อช่วยคนยากจนอื่นๆอีกมากมาย การโกหกเพื่อนำคนเข้าลัทธิเป็นเรื่องยอมรับได้เพราะเป็นการชี้ทางสว่าง ฯลฯ
ในอีกแง่หนึ่ง มีการวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่าคำสอนตรงจุดนี้เป็นการหาข้ออ้างให้กับการกระทำของเจ้าลัทธิและสาวกในเวลาถัดมา


เอกสารอ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=312098

ลัทธิเพกัน


ลัทธิเพกัน(paganism)
                                                       
ลัทธิเพกัน (อังกฤษ: Paganism) มาจากละติน ว่า paganus ที่แปลว่า ผู้ที่อยู่ในชนบทเป็นที่มีความหมายกว้างที่ใช้ในการบรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัย ก่อนที่จะมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือเทพหลายองค์ (พหุเทวนิยม (polytheistic) หรือ ศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบัน หมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามลัทธิเจตนิยม (spiritualism) ลัทธิวิญญาณนิยม (animism) หรือ ลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) ในลัทธิการนับถือเทพหลายองค์พร้อมกัน หรือ ในลัทธิเพกันใหม่

คำว่า ลัทธิเพกันได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนา เอบราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ลัทธิเทวนิยมของชาวอเมริกันอินเดียน (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธิเพกัน" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้อง ถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือตำนานลึกลับต่าง ๆ (mythology)

คำว่าเพกันเป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดายหรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของ โลกตะวันตก[4] เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ อินฟิเดล” (infidel) หรือ คาแฟร์” (kafir ) และ มัสชริค” (mushrik) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่าลัทธิเพกัน”--เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน--ในการกล่าวถึงความ ศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่าเช่นลัทธิเจตนิยม, ลัทธิวิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือ ลัทธิสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธา ในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว

ในปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า เพกันหรือ ลัทธิเพกันก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธิเพกันใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็น สามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นพหุเทวนิยมเคลติค (Celtic paganism) หรือ พหุเทวนิยมนอร์ส (Norse paganism), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่นศาสนาพื้นบ้านของชาวจีน หรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และ ลัทธิเพกันใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)



เอกสารอ้างอิง : http://www.gmcities.com/board/index.php?PHPSESSID=80ee46bd6eba91725698be0a5a63f002&topic=2942.0

ลัทธิชินโต


ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า และ โต  หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง
เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง
ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโต ถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างจากพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง
พิธีกรรม ของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่น และธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ
จน กระทั่งพุทธศาสนา ลัทธิขงจื๊อ และลัทธิเต๋าได้เริ่มเข้ามาในดินแดนญี่ปุ่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึก และบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮอนโชคิ ในศตวรรษที่ 8
เพื่อตอบโต้ศาสนา ที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆ ก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชีดเจน พร้อมได้รวมขนบธรรมเนียม ของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อ เรื่องการกำเนิดโลก(cosmogony) และเทพนิยาย (mythology) ต่างๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ  และอิสึโมะ ใน สมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโต และความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนา เป็นต้น
ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ ทวิเทวนิยม (polytheism) และลัทธิบูชาภูตผี (animism) ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้าซึ่ง มีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ (anthropomorphic deity) หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญ กับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึง และเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโต มาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอะมิกุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต



เอกสารอ้างอิง : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%95

ลัทธิขงจื้อ


ลัทธิขงจื้อ
เมื่อ กล่าวถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อของขงจื้อ เมื่อทศวรรษ1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็น อันดับที่5ใน100คนที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ  แต่ กล่าวสำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมาก กว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย
ขงจื้อ  (ก่อนค.ศ. 551-479) มีชื่อตัวว่า ชิว  เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่าจื้อ เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็นอาจารย์”) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาหยูเจียหรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง  ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่    
 ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งจารีตและ ดนตรีมาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่
  ขงจื่อ สูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ3ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อ สัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม  
ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล
 ขงจื้อตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ30และ เริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ใน ราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น    ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้เนื้อตากแห้งเพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี70คน  จาก สานุศิษย์70คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่าอาจารย์กล่าวว่า...ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่าหลุนอวี่บั้นปลายชีวิต ขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่าชุนชิวขงจื้อยัง เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภาย หลัง ได้แก่ซูจิง”(ตำราประวัติศาสตร์)ซือจิง”(ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้อี้ว์จิง”(ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภาย หลัง)และหลี่จี้”(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง5เล่มนี้เรียก รวมกันใน ภาษาจีนว่าอู่จิง”(คัมภีร์ทั้งห้า)
ขงจื้อ เน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก   ที่ขงจื้อสอนสั่งคือเหรินหรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า
เหริน ?" ท่าน ก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน"
 พอ ถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมปี479ก่อนคริสต์ศักราช ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)

เอกสารอ้างอิง :  http://www.tcbl-thai.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538845762

ลัทธิเต๋า

ลัทธิเต๋า


เมื่อ 3,000 ปี มาแล้ว ชาวจีนตามลุ่มแม่น้ำเหลือง มีความเคารพธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ฯลฯ เป็นอย่างสูง แต่อันที่จริงเป็นการนับถือวิญญาณ (Spirits) ใน ระดับต่าง ๆ จากสูงมาหาต่ำ ได้แก่ วิญญาณแห่งสวรรค์ หรือ เซี่ยงตี่ (เทียนตี่) วิญญาณภาคพื้นดิน วิญญาณมนุษย์ และวิญญาณสัตว์ทั้งหลาย สวรรค์ถือว่าเป็นวิญญาณสูงสุด เป็นบรรพบุรุษของฮ่องเต้หรือพระจักรพรรดิ และเป็นหัวหน้าวิญญาณของบรรพบุรุษสวรรค์ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นเจตจำนงของพระผู้เป็นเจ้า หรือ พูดให้ถูกที่สุดเป็นระเบียบแห่งเอกภพ ฮ่องเต้จะต้องทำการบูชาสวรรค์และแผ่นดินปีละครั้งประชาชนธรรมดาไม่อาจบูชา สวรรค์และโ
ลกง่ายนัก จึงบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับของตนแทน เชื่อกันว่าวิญญาณของบรรพบุรุษยังดำรงอยู่ และจะคอยช่วยเหลือบุคคลที่กระทำการบูชาให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต มีการกินเลี้ยงฉลองอย่างมโหฬาร การบูชาเป็นเรื่องส่วนตัว และโดยตรง ไม่ใช่เพราะมีความกลัว หรือใช้เวทมนตร์คาถา ตามความคิดเก่าแก่ของจีน นักปราชญ์จีนโบราณ จึงพบคำอธิบายซึ่งยืนยันว่า ในเอกภาพนี้มีพลังหรือ อำนาจตรงกันข้ามอยู่ 2 อย่างคือ

1) หยาง (Positive Power) คือพลังบวกมีลักษณะสีแดง เป็นพลังเพศชาย พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความอบอุ่น สว่างไสว มั่นคง สดใส เช่น ดวงอาทิตย์ ไฟ ฯลฯ
2) หยิน (Negative power) คือ พลังลบ มีลักษณะสีดำ เป็นพลังเพศหญิง พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความหนาวเย็น ความมืด อ่อนนุ่ม ชื้นแฉะ ลึกลับ และเปลี่ยนแปลง เช่น เงามืด น้ำ ฯลฯ

สวรรค์ เป็นหยางแทบทั้งหมด และโลกเป็นหยินแทบทั้งหมดเช่นกัน จากการปะทะกันของสองสิ่งนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็อุบัติขึ้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างมีพลังทั้งสองนี้ทั้งนั้น บางครั้งหยินอาจมีพลังแข็งแรง แต่บางครั้ง หยาง ก็มีพลังมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ท่อนไม้ ตามปกติเป็นหยิน แต่เมื่อโยนเข้าไปในกองไฟ ก็เปลี่ยนรูปเป็นหยางไป ในชีวิตคนหยินและหยางก่อให้เกิดความล้มเหลวและความสำเร็จเป็นต้น เช่นเดียวกัน หยางและหยินไม่ใช่เป็นตัวแทนของความดีและความชั่ว แต่ทั้งสองนี้มีความจำเป็นต่อกฏเกณฑ์และระเบียบของเอกภพ ทั้งสองนี้ไม่ใช่อยู่ในภาวะปะทะกันตลอดเวลา แต่ยามใดมีความสามัคคีกัน ทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นสิ่งดีด้วยกัน

ศาสดาของศาสนาเต๋า

ในระหว่างคริสตวรรษที่ 5 - 6 มี ศาสดาทางศาสนาและปรัชญาเกิดขึ้นอย่างน่าสังเกต ในอินเดียมีศาสดามหาวีรและพระพุทธเจ้า ในกรีกมีโสคราตีส ในเปอร์เซียมีโชโรอัสเตอร์ ในจีนมีเล่าจื้อ และขงจื้อ ท่านเล่าจื้อ (Lao tze) เป็นศาสดาของศาสนาเต๋า ซึ่งได้หล่อหลอมชีวิตและอัธยาศัยชาวจีนกว่า 2000 ปีมาแล้ว

ชื่อจริงของเล่าจื้อ คือ ลี - เออร์ (Li Uhr) เกิดเมื่อปี 604 ก่อนคริสต์ศักราช ที่จังหวัดโฮนานประเทศจีน ตอนเมื่อเกิดนั้น กล่าวกันว่า พอคลอดออกมาก็เป็นคนมีผมหงอกขาว และมีอายุ 72 ปี แล้ว ด้วยเหตุนี้แหละท่านจึงชื่อ เล่าจื้อ ซึ่งหมายถึง "เด็กแก่" หรือ "ครูเฒ่า" เมื่อทำงานเป็นบรรณารักษ์ ที่หอสมุดหลวง สำนักของเจ้าเมือง ปรากฎว่ามีชื่อเสียงโด่งดังเพราะมี อำนาจสติปัญญาที่ลึกซึ้งเว้นคนธรรมดาสามัญ ครั้งหนึ่งขงจื้อเดินทางมาพบ ท่านไม่ชอบคำสอนของขงจื้อเลย ถึงกับพูดว่า "กลับไปเสียเถิดและเลิกความหยิ่งความอยากของท่านเสียด้วยนะ"

เล่า จื้อ ไม่ชอบชีวิตหรูหรา แต่ทุกคนดูเหมือนจะมุ่งมั่นเพื่อเงินชื่อเสียงและอำนาจ ในขณะเดียวกันทั้งเมืองก็เต็มไปด้วยการโกงกินกันอย่างมโหฬาร ด้วยเหตุนี้ วันหนึ่งท่านจึงขับเกวียนเทียมวัวดำสองตัวมุ่งไปยังภูเขาด้านทิศตะวันตก (ทิเบต?) พอถึงประตูเมืองนายประตูจำได้ จึงขอร้องให้ท่านหยุดพักเพื่อเขียนปรัชญาแห่งชีวิต ท่านจึงได้เขียนตำราที่โด่งดังของท่านเป็นอักษรจีน 5,500 ตัว จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไป ปรากฏว่าพอถึงช่องแดนระหว่างภูเขา ท่านก็หายเข้าไปในก้อนเมฆ อะไรได้เกิดขึ้นก็ตามทีเถิด ตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครเห็นท่านอีกเลย

คำสอนของเล่าจื้อ

คัมภีร์ที่เล่าจื้อเขียนนี้ มีชื่อว่า เต๋า - เต๋อ - จิง (Tao - the - jing) แปลว่า คัมภีร์แห่งมรรคและอำนาจ เล่าจื้อเริ่มต้นด้วยการตอบปัญหาที่ว่า "อะไรคือแก่นของเอกภพ?" "ถ้าเราสามารถมองไปเบื้องหลังปรากฎการณ์ของสิ่งทั้งหลายได้ และพบลักษณาการที่ชีวิตเกิดขึ้นแล้ว เราจะดำเนินชีวิตอย่างไร?" เล่าจื้ออธิบายว่า คำตอบมีอยู่พร้อมแล้วในว่า "เต๋า" คำนี้แปลกันมาว่า "ทาง", "มรรค" หรือ "แหล่ง กำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง" และเป็นการยากที่จะให้ความหมายเพราะคำ ๆ นี้ให้คำจำกัดความไม่ได้ แก่นแท้ของเต๋าลึกลับกว่าความลึกลับใด ๆ แต่ว่าก็มีบางสิ่งบางอย่างที่พอจะสังเกตได้ดังนี้

เต๋า ไม่ใช่พระเป็นเจ้า แต่เป็นพลังหรืออำนาจที่หลั่งไหลท่วมท้นทุกสิ่งทุกอย่าง มีความรักทะนุถนอม แต่ก็ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือยึดสิ่งใดเป็นเจ้าของ เป็นสิ่งที่ทำงานอย่างนุ่มนวลและสงบเสงี่ยม โดยไม่ต้องพยายามสิ่งทั้งหลายก็จะเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้พิจารณาตัวอย่างความเจริญก้าวไปแต่ละปีของฤดูทั้ง 4 ซึ่ง ดำเนินไปตามกฏเกณฑ์จากฤดูหนึ่งไปสู่ฤดูหนึ่ง ชนิดไม่ทันได้สังเกต ถึงอย่างนั้น ในแต่ละฤดูธรรมชาติทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ โดยปราศจากความวุ่นวายในภาวะเช่นนี้ เต๋าทำหน้าที่ประธานอย่างสงบและอย่างได้ผล (วู - เว) เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี


เอกสารอ้างอิง : http://www.gmcities.com/board/index.php?PHPSESSID=80ee46bd6eba91725698be0a5a63f002&topic=3401.0