วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ลัทธิเพกัน


ลัทธิเพกัน(paganism)
                                                       
ลัทธิเพกัน (อังกฤษ: Paganism) มาจากละติน ว่า paganus ที่แปลว่า ผู้ที่อยู่ในชนบทเป็นที่มีความหมายกว้างที่ใช้ในการบรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัย ก่อนที่จะมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือเทพหลายองค์ (พหุเทวนิยม (polytheistic) หรือ ศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบัน หมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามลัทธิเจตนิยม (spiritualism) ลัทธิวิญญาณนิยม (animism) หรือ ลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) ในลัทธิการนับถือเทพหลายองค์พร้อมกัน หรือ ในลัทธิเพกันใหม่

คำว่า ลัทธิเพกันได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนา เอบราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ลัทธิเทวนิยมของชาวอเมริกันอินเดียน (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธิเพกัน" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้อง ถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือตำนานลึกลับต่าง ๆ (mythology)

คำว่าเพกันเป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดายหรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของ โลกตะวันตก[4] เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ อินฟิเดล” (infidel) หรือ คาแฟร์” (kafir ) และ มัสชริค” (mushrik) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่าลัทธิเพกัน”--เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน--ในการกล่าวถึงความ ศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่าเช่นลัทธิเจตนิยม, ลัทธิวิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือ ลัทธิสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธา ในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว

ในปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า เพกันหรือ ลัทธิเพกันก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธิเพกันใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็น สามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นพหุเทวนิยมเคลติค (Celtic paganism) หรือ พหุเทวนิยมนอร์ส (Norse paganism), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่นศาสนาพื้นบ้านของชาวจีน หรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และ ลัทธิเพกันใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)



เอกสารอ้างอิง : http://www.gmcities.com/board/index.php?PHPSESSID=80ee46bd6eba91725698be0a5a63f002&topic=2942.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น